ข่าวเกี่ยวกับคณะ
default-header-01
obj-3@2x
obj-1
obj-g-1

ข่าวเกี่ยวกับคณะ

  • 25 ม.ค. 2024
  • 406 Views
รางวัลโล่ระดับเหรียญทอง 2 ปีซ้อน 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม 2567
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา คว้ารางวัลโล่ระดับเหรียญทอง 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม 2 ปีซ้อน ในงานพะเยาวิจัย ครั้งที่ 13

          เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ณ อาคาร ๙๙ ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขึ้นรับโล่รางวัล Gold Award โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม (โล่ระดับเหรียญทอง) ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญทอง 2 ปีซ้อน จากรองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 13 จากผลงาน โครงการ “การพัฒนาแอปพลิเคชันออกแบบลวดลายอัตลักษณ์ผ้าชนเผ่า เพื่อเพิ่มศักยภาพการขายสินค้าบนอีคอมเมิร์ซ”ของกลุ่มแปรรูปผ้าปักชนเผ่าและผ้าเขียนเทียน ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยระบบ e-Commerce ผ่านเว็บไซต์ www.pyhill.com ซึ่งเป็นโครงงานพัฒนาต่อเนื่องจาก "พัฒนานวัตกรรมสื่อคอนเทนต์เพื่อยกระดับด้านศักยภาพการขายแพลตฟอร์มระบบอีคอมเมิร์ชของกลุ่มแปรรูปผ้าปักชนเผ่าและผ้าเขียนเทียน ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา" ผลิตภัณฑ์ : ผ้าปักชนเผ่า และผ้าเขียนเทียน

          โดยมีดร.เกวรินทร์ จันทร์ดำ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วย ดร.นภา ราชตา, อาจารย์สุพรรณ์ ทองเพชร และอาจารย์พิพัฒน์พงษ์ แซ่ฟู อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล เป็นทีมงานผู้ช่วยวิจัย โดยโครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดพะเยา ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูงด้วยศาสตร์พระราชา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านจากพื้นที่ราบสูงในพื้นที่จังหวัดพะเยาได้รับทราบถึงปัญหาและความต้องการในการหาช่องทางการตลาด จนก่อให้เกิดการบูรณาการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแปรรูปผ้าปักชาวเขาบ้านสิบสองพัฒนา ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง นำโดยคุณดาวเรือง กาญธนะบัตร โดยได้มีการจัดอบรมและให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ แก่กลุ่มแปรรูปฯ จนก่อเกิดลวดลายแบบใหม่ จำนวน 4 ลาย ได้แก่ ลายก้ามปูนำโชค, ลายแมงมุมชักเงินชักทอง, ลายเต่าหมื่น ๆ ปี และลายกังหันดูดทรัพย์ โดยทางคณะฯ ได้ทำการขอจดสิทธิบัตร ทั้ง 4 ลวดลายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นได้พัฒนาเว็บแพลตฟอร์มออกแบบลายกราฟิกสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ของใช้และของที่ระลึก เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของที่ระลึกด้วยตนเอง โดยลวดลายที่ออกแบบจะเน้นลวดลายอัตลักษณ์ของกลุ่มราษฎรพื้นที่สูงจังหวัดพะเยา โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าเขียนเทียนบ้านสิบสองพัฒนาซึ่งมีชาวเขาเผ่าเมี่ยนและม้ง ซึ่งมีลายอัตลักษณ์ต่าง ๆ ที่สืบทอดและสะท้อนวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ผูกพันกับธรรมชาติ และความเชื่อ เพื่อสะดวกต่อการนำไปออกแบบผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป ผลิตภัณฑ์และของที่ระลึกต่าง ๆ ผู้ใช้สามารถเลือกได้ทั้งเสื้อแขนสั้น เสื้อแขนยาว กางเกงขาสั้น กางกางขายาว ผ้าพันคอ แก้ว ถุงผ้า และของที่ระลึกอื่น ๆ หลังจากสั่งสินค้าแล้ว ผู้ประสานงานจะประสานร้านในเครือข่ายที่สามารถพิมพ์ลายลงบนสินค้าต่าง ๆ