University of Phayao

Digital Collections

ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จัดทำโดยศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ของมหาวิทยาลัยพะเยา

นโยบายการรับผลงานการรับผลงานเข้าสู่ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จะคัดเลือกรับผลงานประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Theses วิทยานิพนธ์
  • Dissertations ดุษฎีนิพนธ์
  • Independent Study รายงานการค้นคว้าอิสระ
  • Technical Report รายงานการวิจัย
  • Journal Paper บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในบทความวารสาร
  • Bachelor’s Project ปัญหาพิเศษนักศึกษาปริญญาตรี
  • Patents สิทธิบัตร
  • Local Information Phayao Province ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพะเยา
  • University of Phayao Archives จดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพะเยา

ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือส่งผลงานได้ที่ UPDC Support.

Photo by @inspiredimages
 

Recent Submissions

Item
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานย่อย ระดับงาน ภายในกองการเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2563
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020-05-28) มหาวิทยาลัยพะเยา
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานย่อย ระดับงาน ภายในกองการเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2562 ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
Item
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง หลักเกณฑ์และคุณสมบัติการเลือกตั้งผู้นำนิสิต ประเภทคณะกรรมการองค์การนิสิตและสมาชิกสภานิสิต ประจำปีการศึกษา 2562 (เพิ่มเติม) ฉบับที่ 1
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019-02-28) มหาวิทยาลัยพะเยา
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง หลักเกณฑ์และคุณสมบัติการเลือกตั้งผู้นำนิสิต ประเภทคณะกรรมการองค์การนิสิตและสมาชิกสภานิสิต ประจำปีการศึกษา 2562 (เพิ่มเติม) ฉบับที่ 1 ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Item
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020-03-17) มหาวิทยาลัยพะเยา
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประกาศ ณ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563
Item
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยพะเยา (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2563
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020-09-20) มหาวิทยาลัยพะเยา
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานวิชาการของมหาวิทยาลัยพะเยา (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2563 ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563
Item
การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดเทคโนโลยีในอนาคตของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) รัตน์เศรษฐ์ จามจุรี
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการไฟฟ้าแบบผสมผสานของระบบสมาร์ตกริดของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดเทคโนโลยีในอนาคตของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โดยผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญผู้ที่มีความรู้ด้านพลังงานโดยเฉพาะ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กระทรวงพลังงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และผู้บริหารภาคเอกชน จากการตอบแบบสอบถามเชิงลึก และการตรวจสอบ ประเมิน รับรองรูปแบบการบริหารจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยีอนาคตของระบบสมาร์ตกริดแบบผสมผสาน จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการจัดการไฟฟ้าแบบผสมผสานของระบบสมาร์ตกริดเทคโนโลยีในอนาคตของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีองค์ประกอบดังนี้ 1) การบริหารจัดการพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 2) การจัดการเทคโนโลยีสมาร์ตกริด 3) ด้านการจัดการพลังงานแบบผสมผสาน 4) รูปแบบการจัดการแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดเทคโนโลยีในอนาคตของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (2) รูปแบบการจัดการแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดเทคโนโลยีในอนาคตของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน จากคะแนนเต็ม 5 ของแต่ละองค์ประกอบดังนี้ คือ องค์ประกอบด้านการพัฒนาระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจำหน่าย 4.27 องค์ประกอบด้านการรองรับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น 4.40 องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวม 4.17 องค์ประกอบด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบฝังตัว 4.28 องค์ประกอบด้านระบบควบคุมอัตโนมัติ 4.24 องค์ประกอบด้านสารสนเทศและการสื่อสาร 4.37 องค์ประกอบด้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4.35 องค์ประกอบด้านโรงไฟฟ้าโซล่าเซล 4.46 องค์ประกอบด้านโรงไฟฟ้าพลังงานลม 4.23 องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดเทคโนโลยีในอนาคต 4.29 องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการพลังงาน 4.24 องค์ประกอบด้านการจัดการเทคโนโลยีสมาร์ตกริด 4.30 ในการจัดการแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดเทคโนโลยีในอนาคตของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน โดยเพิ่มศักยภาพในระบบการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับให้ทันสมัยขึ้นเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดเทคโนโลยีในอนาคตของพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และเป็นแนวทางในการบริหารพลังงานของภาครัฐ สร้างความเป็นธรรมและเกิดความสมดุลอันเป็นแนวทางการแก้ไขที่ตรงจุดจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างยั่งยืนต่อไป