ข่าวเกี่ยวกับคณะ
default-header-01
obj-3@2x
obj-1
obj-g-1

ข่าวเกี่ยวกับคณะ

  • 30 พ.ย. -0001
  • 330 Views
คว้า 5 รางวัล TSG ครั้งที่ 10
....นิสิตสาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา คว้า 5 รางวัล การประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 10....

    

        คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ส่งนิสิตเข้าร่วมการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 10 เพื่อสร้างเครือข่าย           การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ให้กับ นิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทย ๒. เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ และเพิ่มโอกาสทางด้านวิชาการให้แก่นิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และ ภูมิสารสนเทศศาสตร์ ๓. เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอน   และการพัฒนาความรู้ภูมิศาสตร์และภูมิ สารสนเทศศาสตร์ของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2561 ณ อาคารนวัตปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

          โดย ดร.นิติ  เอี่ยมชื่น อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ นำนิสิตในสาขาวิชาฯ       ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ทั้งในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) และรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ซึ่งส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอ 5 ผลงาน ในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสามารถ     คว้ารางวัลได้ทั้ง 5 ผลงาน ดังนี้  ผลงานวิจัยรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)

รางวัลชมเชย ผลงานวิจัย “ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางภูมิศาสตร์และการสูญเสียป่าไม้ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง” เจ้าของผลงานคือ นายชัชนันท์ชัย ไชยแก้ว

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานวิจัย “การศึกษาพื้นที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการปลูกผักหวานป่าในตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา” เจ้าของผลงานคือ นายวิญญู เร่งเร็ว

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานวิจัย “การเปรียบเทียบการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินโดยใช้แบบจำลอง CA-MARKOV และแบบจำลอง LAND CHANG MODELER กรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์” เจ้าของผลงานคือ นายวุฒิพงษ์ นิลจันทร์

ผลงานวิจัยรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation)

รางวัลชมเชย ผลงานวิจัย “การศึกษามาตรฐานภูมิสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่น” เจ้าของผลงานคือ นายอนุรักษ์ เกิดสกุล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานวิจัย “การประมาณปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำกว๊านพะเยา โดยแบบจำลอง SWAT” เจ้าของผลงานคือนางสาวกัญญาวีร์ เท่าบุรี

          ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจาก 20 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ประมาณ 700 คน