ข่าวเกี่ยวกับคณะ
default-header-01
obj-3@2x
obj-1
obj-g-1

ข่าวเกี่ยวกับคณะ

  • 21 ก.ย. 2020
  • 348 Views
คว้ารางวัลโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2020)
นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คว้า 2 รางวัล โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market 2020 : R2M 2020) ได้เป็นตัวแทนทีมจากมหาวิทยาลัยพะเยาไปแข่งขันในภูมิภาค (ภาคเหนือ)

        เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563 นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา คว้า 2 รางวัล ในโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market 2020 : R2M 2020) ได้เป็นตัวแทนทีมจากมหาวิทยาลัยพะเยาไปแข่งขันในภูมิภาค (ภาคเหนือ) และได้รับเงินรางวัลสำหรับการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ ทีมละ 10,000 บาท ได้แก่ ทีม Evoligence ชื่อผลงานคือ ผลิตภัณฑ์ :  แพลตฟอร์มคัดกรอง แปลผล และติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของเด็ก สมาชิกในทีมมีดังนี้ นายพีรณัฐ มูลรัตน์ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์, นายพันกร จันทรส นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนางสาวพลอยปภัสร์ ฐิติกิตวรธัญญ์ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ และ ทีม Check It ชื่อผลงานคือผลิตภัณฑ์ ชุดสกัดเก่ง : นวัตกรรมชุดเครื่องมือสกัด DNA สมาชิกในทีมมีดังนี้ นางสาวนิภาพร จันต๊ะวงค์ นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, นายรัตพล จอมแปง นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, น.ส.วิปัสสนา ศรีจันทร์ นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, นางสาวรัชฎาภรณ์ เขียวใหม่ สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนางสาวพรนภา สมศรี สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

          ซึ่งโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market 2020 : R2M 2020) จัดโดยสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (UPITI) กลุ่มงานอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 8 และมีทีมเข้าร่วมแข่งขันประชันไอเดียกันทั้งหมด 8 ทีม ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อจัดทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ของผลงานวิจัย นวัตกรรม ของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และเตรียมความพร้อมในการนำผลงานดังกล่าวออกสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้เป็นการสร้างโอกาสให้นักวิจัยหรือผู้คิดค้นนวัตกรรม รวมถึงนักศึกษาได้ทดสอบถึงความเป็นไปได้ที่จะนำผลงานวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและสร้างวัฒนธรรมของการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีและลดช่องว่างระหว่างผลงานวิจัยและนวัตกรรมกับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

 

นางสาวมยุเรศ แสงสว่าง (นักประชาสัมพันธ์) : ข่าว

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี : ภาพ