เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรม M2 Hotel Waterside พะเยา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ จัดประชุม สัมมนา Focus Group สำรวจความต้องการหลักสูตร Upskill/ Reskill/ New skill บริบทของจังหวัดพะเยา ภายใต้โครงการสถาบันการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อรับทราบความต้องการและแนวทางการจัดการออกแบบหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ ศรีสังสิทธิสันติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุมสัมมนาฯ จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้กล่าวให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก คณบดีคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมสัมมนาฯ
ภายในการประชุมสัมมนาฯ ทางประธานหลักสูตรนำเสนอหลักสูตร จำนวน 5 หลักสูตร คือ
หลักสูตรที่ 1 คือ หลักสูตร “เกษตรกรรมยั่งยืนกับทางเลือกพืชทำเงินชนิดใหม่ของไทย” โดย ดร.บุญร่วม คิดค้า คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
หลักสูตรที่ 2 หลักสูตร “นวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบเชิงพานิชย์แบบครบวงจร” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
หลักสูตรที่ 3 หลักสูตร “การผลิตสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
หลักสูตรที่ 4 หลักสูตร “บ่มเพาะเกษตรกรสู่นักเทคโนโลยีสำหรับเกษตรอัจฉริยะแม่นยำ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนา อุดมศรีไพบูลย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และหลักสูตรที่ 5 หลักสูตร “พัฒนานักเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลยุคใหม่” โดย ดร.เกวรินทร์ จันทร์ดำ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากนั้นเป็นการสัมมนา Focus Group เรื่อง “นโยบาย BCG การเปลี่ยนโฉมของนวัตกรรมด้านการเกษตร และบทบาทภาคเกษตรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหลังโควิด” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพงษ์ แสงแก้ว และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชุม เกษตรกร และผู้ที่สนใจเข้าอบรมได้ซักถามและให้ข้อเสนอแนะความต้องการ ในแต่ละหลักสูตร ซึ่งหลังจากได้ประชุมสัมมนาสำรวจความต้องการจากกลุ่มเป้าหมายแล้ว ทางคณะกรรมการ โครงการสถาบันการเรียนรู้ และนวัตกรรมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยพะเยาได้ทำการประชุมแลกเปลี่ยนและระดมแนวคิดจากกลุ่มเป้าหมายเพื่อมาปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการและตามความเหมาะสม โดยโครงการจะเปิดทำการอบรมหลักสูตร Upskill/ Reskill/ New skill บริบทของจังหวัดพะเยา ในช่วงเดือนกันยายน 2565 เป็นต้นไป
นางสาวมยุเรศ แสงสว่าง (นักประชาสัมพันธ์) : ข่าว/ภาพ