หลักสูตรที่เปิดสอน
default-header-01
obj-2@2x
obj-1
obj-g-1

ผู้สนใจเข้าศึกษา

หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) Bachelor of Science (B.S.)
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Computer Science)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Computer Science)

 

ปรัชญาของหลักสูตร

ศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เน้นนำองค์ความรู้โครงสร้างพื้นฐานของระบบ ขั้นตอนวิธี กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัล มีจรรยาบรรณใน การประกอบอาชีพ สู่การสร้างสรรค์ชุมชนอย่างยั่งยืน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

PLO 1: ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PLO 2: ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยียุคดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน

PLO 3: ผู้เรียนสามารถจัดการชีวิตตนเองอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

PLO 4: ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและแสดงออกถึงคุณลักษณะความเป็นพลเมืองที่มีคุณค่า ของสังคมไทยและสังคมโลก

PLO 5: ผู้เรียนสามารถแสดงออกซึ่งทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

PLO 6: ผู้เรียนสามารถออกแบบนวัตกรรมทางวิชาชีพด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบได้

PLO 7: ผู้เรียนสามารถอธิบายทฤษฎี หลักการโครงสร้างพื้นฐานของระบบ ขั้นตอนวิธี กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์และปัญญาประดิษฐ์

PLO 8: ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยี เครื่องมือที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ ระบบ ขั้นตอนวิธี กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์และปัญญาประดิษฐ์ ตรงตามความต้องการของ อุตสาหกรรมดิจิทัล

PLO 9: ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาอุตสาหกรรมดิจิทัลและชุมชน โดยใช้องค์ความรู้ด้านโครงสร้าง พื้นฐานของระบบ ขั้นตอนวิธี กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ และปัญญาประดิษฐ์ 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  2. สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า หรือระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาชั้นสูงทั้งในประเทศหรือต่างประเทศซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรอง
  3. เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  4. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่กระทำ โดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
  5. ไม่เคยถูกตัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติและเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยพะเยา ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561

 

การประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักพัฒนาซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ (Full-Stack Developer)
  2. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนหน้าบ้าน (Front-End Developer)
  3. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนหลังบ้าน (Back-End Developer)
  4. นักทดสอบซอฟต์แวร์(Software Tester)
  5. นักพัฒนาซอฟต์แวร์บล็อกเชน(Blockchain Developer)
  6. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ (System Analyst and Designer)
  7. นักวิทยาการคอมพิวเตอร์(Computer Scientist)
  8. นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้ของเครื่อง(Machine Learning Scientist)
  9. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์(Project Manager)
  10. ผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์(Project Coordinator)
  11. ผู้ออกแบบและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูล (Database Designer and Administrator)
  12. เจ้าหน้าที่สนับสนุนด้านซอฟต์แวร์(Software Technical Support)
  13. ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์(Software Entrepreneur)
  14. ศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องหรือนักวิจัย (Further Study in Related Fields or Researcher

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1

ภาคการศึกษาต้น

001101 ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน Thai Language in Daily Life 2(2-0-4)

001103 ภาษาอังกฤษสำหรับชีวิตประจำวัน English for Daily Life 3(2-2-5)

002101 การใช้เทคโนโลยีเพื่อชีวิตยุคดิจิทัล Technology Usage for Digital life 1(0-2-1)

003101 สุนทรียศาสตร์ในการจัดการชีวิต Artistic for Life Management 3(2-2-5)

225100 วิทยาการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น Introduction to Computer Science 3(2-2-5)

225101 การคิดเชิงตรรกะ Logical Thinking 3(2-2-5)

241111 คณิตศาสตร์ 1 Mathematics I 3(2-2-5)

รวม 18 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาปลาย

001102 ภาษาไทยเชิงวิชาการ Thai for Academic Purposes 1(0-2-1)

001104 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร English for Communication 3(2-2-5)

002102 ความฉลาดทางดิจิทัล Digital Intelligence Quotient 2(1-2-3)

003102 การพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต Skills Development and Lifelong Learning 3(2-2-5)

225111 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น Introduction to Programming 3(2-2-5)

225131 แนวคิดการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Principles of Computer Programming 3(2-2-5)

241326 คณิตศาสตร์เต็มหน่วย Discrete Mathematics 3(2-2-5)

รวม 18 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 2

ภาคการศึกษาต้น

001205 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเชิงวิชาการและวิชาชีพ English for Academic and Professional Communication 3(2-2-5)

003203 เรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างสังคม Collaborative Learning for Society Creation 2(0-4-3)

225211 หลักการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ Principles of Object-Oriented Programming 3(2-2-5)

225231 โครงสร้างข้อมูลและการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี Data Structures and Algorithm Analysis 3(2-2-5)

225241 ระบบจัดการฐานข้อมูลและออกแบบฐานข้อมูล Database Management System and Database Design 3(2-2-5)

225242 การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสาน User Interface Design and Implementation 3(2-2-5)

225291 การเตรียมพร้อมสำหรับโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 Preparation for Computer Science Project I 1(0-2-1)

247105 ความน่าจะเป็นและสถิติ Probability and Statistics 3(2-2-5)

รวม 21 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาปลาย

003204 การจัดการสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและชุมชน Health Environment and Community Management 1(0-2-1)

225201 การโปรแกรมเชิงตัวเลข Numerical Programming 3(2-2-5)

225212 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน Web Application Development 3(2-2-5)

225251 การวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์ระบบ System Software Analysis and Design 3(2-2-5)

225261 พื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์ Fundamental of Computer System 3(2-2-5)

225271 หลักการปัญญาประดิษฐ์ Principles of Artificial Intelligence 3(2-2-5)

225292 การเตรียมพร้อมสำหรับโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 Preparation for Computer Science Project II 1(0-2-1)

รวม 17 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 3

ภาคการศึกษาต้น

003305 กระบวนการคิดเชิงออกแบบสู่การเป็นผู้ประกอบการยุคดิจิทัล Design Thinking Process for Digital Age Entrepreneurs 3(2-2-5)

225311 แนวคิดวิศวกรรมซอฟต์แวร์ Software Engineering Concepts 3(2-2-5)

225312 การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ Mobile Application Development 3(2-2-5)

225341 เครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ Computer Network for Software Development 3(2-2-5)

225371 การเรียนรู้ของเครื่อง Machine Learning 3(2-2-5)

225391 การเตรียมพร้อมฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาการคอมพิวเตอร์ Preparation for Computer Science Professional Experience 1(0-2-1) (ไม่นับหน่วยกิต)

225392 การเตรียมพร้อมสำหรับโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 Preparation for Computer Science Project III 1(0-2-1)

XXXXXX วิชาเลือกเสรี Free Elective 3(X-X-X)

รวม 19(1) หน่วยกิต

ภาคการศึกษาปลาย

146200 ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ English for Specific Purposes 3(3-0-6)

225331 วิทยาการข้อมูลและการประยุกต์ Data Science and Application 3(2-2-5)

225351 วิทยาการรหัสลับและการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศ Cryptography and Information Security 3(2-2-5)

225393 โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ Computer Science Project 3(2-2-5)

225xxx วิชาเอกเลือก Major Elective 3(x-x-x) XXXXXX วิชาเลือกเสรี Free Elective 3(X-X-X)

รวม 18 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 4

ภาคการศึกษาต้น

003306 บูรณาการความรู้สู่นวัตกรรมทางวิชาชีพ Integration for Professional Innovation 3(0-6-3)

225xxx วิชาเอกเลือก Major Elective 3(X-X-X)

225xxx วิชาเอกเลือก Major Elective 3(x-x-x)

รวม 9 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาปลาย

225492* สหกิจศึกษา Co-Operative Education 6 หน่วยกิต

225493* การฝึกงาน Professional Training 6 หน่วยกิต

225494* การศึกษาอิสระ Independent Study 6 หน่วยกิต

225295** การศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน 2 Work Integrated Learning 2 6 หน่วยกิต

รวม 6 หน่วยกิต

หมายเหตุ

* เฉพาะนิสิตที่ไม่ได้เลือกเรียนกลุ่มวิชาเลือกเสริมทักษะการทำงาน เลือกเรียนเพียง 1 รายวิชา

** เฉพาะนิสิตที่เลือกเรียนกลุ่มวิชาเลือกเสริมทักษะการทำงาน